บทเรียน
นักเขียนรับเชิญคนพิเศษ – คุณ สรินยา วิทยาอารีย์กุล (ครูยา)
เรียนภาษาอิตาลี วันที่ 68
สวัสดีค่ะ ในวิดีโอที่ 47 นี้ ครูเวโรนิค่าจะสอนเรื่อง การใช้ l’imperativo ร่วมกับคำสรรพนามต่างๆ ค่ะ
กดที่ลิ้งค์นี้แล้วไปดูวิดีโอกันเลยค่ะ ถ้าไม่เข้าใจอะไรก็ค่อยกลับมาดูคำแปลทีหลังค่ะ
Lezione 47.
– Ciao a tutti!
สวัสดีค่ะทุกๆ คน!
– Come state?
พวกเธอเป็นอย่างไรกันบ้างคะ
– Io bene, ma oggi non so che cosa fare!
ฉันสบายดีค่ะ แต่ว่าวันนี้ฉันไม่รู้จะทำอะไรดีคะ!
– Raccontatemi voi per favore qualche cosa.
พวกเธอจงเล่าให้ฉันฟังหน่อยค่ะ ได้โปรด เล่าอะไรก็ได้ค่ะ
– Datemi dei consigli, datemi delle idee.
พวกเธอจงให้คำแนะนำกับฉันหน่อยคะ พวกเธอจงให้ไอเดียกับฉันหน่อยค่ะ
– Consigliatemi qualcosa, perché abbiamo fatto già tante cose, abbiamo parlato di tantissime cose.
พวกเธอจงให้คำแนะนำบางอย่างกับฉันหน่อยค่ะ เพราะว่าพวกเราได้ทำหลายสิ่งหลายอย่างกันไปแล้ว พวกเราได้พูดถึงหลายสิ่งหลายอย่างมากมายแล้ว
– Vi ricordate?
พวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– Abbiamo parlato di cibo, quello sempre non manca mai.
พวกเราได้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องอาหาร เรื่องนั้นก็จะพูดถึงกันตลอด ไม่มีขาดแน่นอนค่ะ
– Abbiamo parlato di cibo, di cucinare, di cucinare a casa, o di andare al ristorante.
พวกเราได้คุยกันเกี่ยวกับเรื่องอาหาร การทำอาหาร การทำอาหารที่บ้าน หรือการไปที่ร้านอาหารแล้วค่ะ
– Ok, abbiamo parlato di comprare, di shopping, e comprare varie, vi ricordate?
โอเค พวกเราได้คุยกันเกี่ยวกับการไปช๊อปปิ้ง การซื้อของแบบต่างๆ พวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– Poi abbiamo parlato di famiglia, di tantissime cose, quindi dovete darmi delle idee.
แล้วพวกเราก็ได้คุยกันเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว เกี่ยวกับหลายสิ่งหลายอย่างมากมายเลยคะ ดังนั้นพวกเธอจะต้องให้ไอเดียกับฉันบ้างนะคะ
– Em… comunque questa è la 47esima lezione del corso One world italiano video.
อืม… อย่างไรก็ตาม บทเรียนนี้คือบทเรียนที่ 47 ของหลักสูตร One world italiano video ค่ะ
– Eh… bene.
อืม… โอเคค่ะ
– Quindi oggi dovete proprio aiutarmi.
ดังนั้น วันนี้พวกเธอจะต้องช่วยฉันกันจริงๆ นะคะ
– Dovete un po’ rivedere i miei video, rivedeteli mi raccomando, perché così vedete un po’ che cosa, che cosa manca.
พวกเธอจะต้องกับไปดูวิดีโอต่างๆ ของฉันซ้ำกันนิดนึงนะคะ พวกเธอจงดูพวกมันซ้ำกันนะคะ ฉันขอแนะนำเลยค่ะ เพราะว่าพวกเธอจะได้เห็นในสิ่งที่มันยังไม่มีอ่ะค่ะ
– Che cosa possiamo fare ancora.
ว่าพวกเราสามารถเรียนอะไรกันได้อีกบ้าง
– Va bene… em… va bene.
โอเคค่ะ… อืม… โอเค
– Vi ricordate? Vi ricordate?
พวกเธอจำกันได้ไหมคะ พวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– Em… pensateci un po’, perché oggi non so che cosa fare, davvero.
อืม… พวกเธอจงคิดกันสักนิดนะคะ เพราะว่าวันนี้ฉันไม่รู้ว่าจะทำอะไรดีค่ะ
– Eh… vi ho detto ristoranti, cucinare a casa, comprare.
ค่ะ… ฉันได้บอกกับพวกเธอไปแล้วว่า ร้านอาหารต่างๆ การทำอาหารที่บ้าน การช๊อปปิ้ง
– Rivedete i video e consigliatemi, consigliatemi qualcosa.
พวกเธอจงกลับไปดูวิดีโอต่างๆ และพวกเธอก็มาให้คำแนะนำกับฉันกันด้วยนะคะ พวกเธอจงแนะนำบางอย่างกับฉันด้วยนะคะ
– Ah… vi ricordate l’altra volta, l’altra volta?
อ้า… พวกเธอจำครั้งที่แล้วกันได้ไหมคะ ครั้งที่แล้วอ่ะค่ะ
– Em… ho fatto un movimento sbagliato, ok, non lo rifaccio perché se no… va beh.
อืม… ฉันได้ทำท่าผิด โอเค ฉันไม่ทำมันซ้ำนะคะ เพราะว่าถ้าไม่งั้น… ก็นะ ค่ะ
– Provo a rifarlo, era così, eh… sono rimasta, sono rimasta bloccata, e vi ho detto “non fatelo, non fatelo mi raccomando!”
ฉันจะลองทำมันซ้ำดูอีกครั้งนะคะ ตอนนั้นมันเป็นแบบนี้ค่ะ ค่ะ… แล้วตอนนั้นฉันก็ค้างอยู่ท่านั้น แกะไม่ออก และฉันก็ได้บอกกับพวกเธอไปว่า “พวกเธอห้ามทำมันกันนะคะ ฉันขอแนะนำเลยค่ะ!”
– E poi, però va beh, non vi preoccupate, adesso sto bene.
แล้วก็ แต่ว่า ค่ะ พวกเธอไม่ต้องกังวลกันไปนะคะ ตอนนี้ฉันสบายดีค่ะ
– L’altra volta avevo la schiena, la schiena un po’, un po’ rotta.
ครั้งที่แล้ว ตอนนั้นฉันมีหลัง ฉันเจ็บหลังนิดหน่อยคะ
– Poi vi ricordate la scorsa lezione?
แล้วพวกเธอจำบทเรียนที่ผ่านมากันได้ไหมคะ
– Sono andata all’aeroporto però ho perso l’aereo.
ฉันได้ไปที่สนามบิน แต่ว่าฉันก็ได้ตกเครื่องค่ะ
– E infatti vi ho detto, vi ho detto “quando andate all’aeroporto mi raccomando andateci almeno due ore prima!”
นั่นไงคะ ฉันได้บอกกับพวกเธอไปว่า “ตอนที่พวกเธอไปที่สนามบิน ฉันขอแนะนำว่าให้ไปก่อนอย่างน้อยสองชั่วโมงค่ะ!”
– Se no rischiate di perdere l’aereo come ho fatto io, così.
ถ้าไม่งั้น พวกเธอก็จะเสี่ยงที่จะตกเครื่องแบบฉันได้ค่ะ ก็แบบนี้อ่ะค่ะ
– E poi vi ricordate?
แล้วพวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– Sì, ah… stendiamo un velo pietoso.
ใช่ค่ะ อ้า… พวกเราหยุดพูดดีกว่าค่ะ
– Em… poi vi ricordate, vi ricordate?
อืม… แล้วพวกเธอจำกันได้ไหมคะ พวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– Vi ho parlato anche della famiglia.
ฉันได้พูดเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวแล้วด้วย
– Ricordatevi anche voi di come eravate.
พวกเธอจำตัวเองตอนเด็กๆ ได้ไหมคะ
– Perché vi ho parlato della mia attuale famiglia, e della mia famiglia quando ero piccola, in passato.
เพราะว่าฉันได้พูดกับพวกเธอเกี่ยวกับครอบครัวของฉันในปัจจุบัน และเกี่ยวกับครอบครัวของฉันเมื่อตอนที่ฉันยังเป็นเด็กเล็กๆ ในอดีตอ่ะค่ะ
– E quindi ricordatevi anche voi com’eravate.
และดังนั้น พวกเธอจำกันได้ไหม ว่าตอนนั้นพวกเธอเป็นอย่างไรกันบ้าง
– E così, poi abbiamo parlato al telefono, vi ho insegnato a telefonare.
แล้วพวกเราก็ได้คุยโทรศัพท์กัน ฉันได้สอนให้พวกเธอคุยโทรศัพท์ไปแล้ว
– Situazioni formali e informali.
ทั้งแบบสุภาพและคุยแบบกันเอง
– Per esempio vi ho detto “questo è il numero, digitatelo nel vostro telefono!”
ตัวอย่างเช่น ฉันได้บอกกับพวกเธอไปว่า “นี่คือเบอร์โทรศัพท์ พวกเธอกดบันทึกมันไว้ในโทรศัพท์ของพวกเธอกันนะคะ!”
– Poi che cosa, che cosa abbiamo, abbiamo fatto?
และก็อะไรต่อนะ พวกเรามีอะไรอีกคะ พวกเราได้เรียนอะไรไปแล้วคะ
– Sì, abbiamo fatto tanto tanto shopping insieme e io ogni volta, ogni volta non ho comprato solo una cosa, ma mi sono detta “dai Veronica, compriamone tante!”
ใช่ค่ะ พวกเราได้ไปช๊อปปิ้งด้วยกันและในแต่ละครั้ง ฉันก็ไม่เคยซื้อของแค่ชิ้นเดียวเลยค่ะ แต่ฉันได้บอกกับตัวเองว่า “เอาหน่ะ เวโรนิกา ซื้อไปหลายๆ อย่างเลย!”
– E sono sempre uscita dai negozi con tante tante buste.
และฉันก็ได้เดินออกจากร้านต่างๆ กับถุงต่างๆ มากมายค่ะ
– Eh va bene, va bene.
เอิม… โอเค โอเคค่ะ
– Poi va beh… vi ho parlato tante volte della grammatica italiana.
แล้ว ค่ะ… ฉันได้พูดกับพวกเธอหลายครั้งหลายคาแล้ว เกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาอิตาลี
– E vi ho detto “non preoccupatevi! Non vi preoccupate!”
และฉันได้บอกกับพวกเธอว่า “พวกเธอไม่ต้องกังวลกันนะคะ! (vi อยู่ข้างหลัง) พวกเธอไม่ต้องกังวลกันนะคะ!” (vi อยู่ข้างหน้า)
– Em… ma…
อืม… แต่ว่า…
– Non spaventatevi, nel senso che la grammatica è quella, va studiata piano piano.
พวกเธอไม่ต้องตกใจกันนะคะ ในความหมายที่ว่า ไวยากรณ์มันก็แค่นั้น ก็ต้องค่อยๆ เรียนไปช้าๆ ค่ะ
– Em… vi ho detto “non vi preoccupate, ma studiatela!”
อืม… ฉันได้บอกกับพวกเธอไปว่า “พวกเธอไม่ต้องกังวลกันนะคะ แต่ว่าพวกเธอต้องเรียนมันค่ะ!”
– E poi vi ho detto “siccome io sono la vostra insegnate, comportatevi bene!”
แล้วฉันก็ได้บอกกับพวกเธอว่า “แบบว่า ฉันเป็นครูของพวกเธอ พวกเธอจงทำตัวให้ดีๆ นะคะ!”
– Va bene, e poi che cosa abbiamo fatto?
โอเคค่ะ แล้วพวกเราได้เรียนอะไรกันอีกคะ
– Ah poi vi ricordate quando ho cantato?
อ้า แล้วพวกเธอจำตอนที่ฉันร้องเพลงได้ไหมคะ
– Eh… ho cantato la mia mitica canzone degli anni 80 e vi ho detto “ascoltatela!”
เอิม… ฉันได้ร้องเพลงในตำนานของฉัน ในปี ค.ศ. 80 และฉันก็ได้บอกกับพวกเธอว่า “พวกเธอจงฟังมันกันนะคะ!”
– Non rivedete quel video per favore.
พวกเธออย่าไปดูวิดีโอนั้นซ้ำกันนะคะ ขอร้องเลยค่ะ
– Va bene, va bene, va bene.
โอเคค่ะ โอเค โอเค
– Poi vediamo un po’ cosa abbiamo fatto.
แล้วก็มาดูค่ะว่า มีอะไรอีกที่พวกเราได้เรียนกันไปแล้ว
– Ah vi ricordate quando mi sono messa gli occhiali e vi ho detto, vi ho detto “mi raccomando le regole grammaticali studiatele bene!” Ok…
อ้า พวกเธอจำกันได้ไหมคะ เมื่อตอนที่ฉันได้ใส่แว่นตา และฉันได้บอกกับพวกเธอว่า ฉันได้บอกกับพวกเธอว่า “ฉันขอแนะนำว่าหลักไวยากรณ์ต่างๆ ทั้งหมดนี้ พวกเธอจงศึกษามันกันให้ดีนะคะ!” โอเค…
– Quel giorno vi ho fatto un sacco di prediche.
วันนั้นฉันบ่นไปเยอะมากค่ะ
– Va bene, va bene.
โอเคค่ะ โอเค
– Poi che cosa abbiamo fatto ancora?
แล้วมีอะไรที่พวกเราเรียนไปแล้วอีกคะ
– Ah poi vi ricordate quando abbiamo parlato della superstizione?
อ้า แล้วก็ พวกเธอจำกันได้ไหมคะ เมื่อตอนที่พวกเราพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโชคลางอ่ะค่ะ
– La superstizione, infatti qua ho il mio portafortuna.
เรื่องโชคลาง นี่ไงคะ ตรงนี้ฉันก็มีเรื่องลางนำโชคของฉันอยู่ค่ะ
– E abbiamo parlato della superstizione e vi ho detto, vi ricordate quella famosa frase che io non ripeterò?
และพวกเราก็ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และฉันก็ได้บอกกับพวกเธอว่า พวกเธอจำประโยคที่มีชื่อเสียงนั้นกันได้ไหมคะ ประโยคที่ฉันจะไม่พูดซ้ำอ่ะค่ะ
– Che mi ha detto il mio direttore, voi non ripetetela!
คำที่ผู้อำนวยการของฉันได้บอกกับฉัน พวกเธอห้ามพูดมันซ้ำนะคะ
– Mi raccomando non ditela!
ฉันขอแนะนำเลยนะคะ ว่าพวกเธอห้ามพูดคำนั้นค่ะ!
– Ma augurate in bocca al lupo.
แต่พวกเธอควรจะอวยพรว่า ในปากของหมาป่าแทนค่ะ
– Auguratelo per… em… diciamo nelle situazioni in cui serve, serve la fortuna, ok?
พวกเธอจงอวยพรมัน เพื่อ… อืม… ในสถานะการณ์ซึ่ง มันต้องใช้โชคช่วยด้วยอ่ะค่ะ โอเคนะคะ
– Bene, quindi ditelo per augurare fortuna!
ดีค่ะ ดังนั้น พวกเธอจงพูดมันเพื่ออวยพรให้เขาโชคดีค่ะ!
– Benissimo, a proposito, quella era la lezione 17, anche se non mi piace questo numero, andatela a rivedere!
ดีมากค่ะ อย่างไรก็ตาม บทเรียนนั้นคือบทเรียนที่ 17 แม้ว่าฉันจะไม่ชอบตัวเลขนี้ก็ตาม พวกเธอจงกลับไปดูมันซ้ำกันนะคะ!
– Rivedetela!
พวกเธอจงกลับไปดูมันซ้ำกันนะคะ
– Perché? Perché altrimenti non potete capire questa lezione.
ทำไมเหรอคะ เพราะว่าไม่เช่นนั้นพวกเธอจะไม่สามารถเข้าใจบทเรียนนี้ได้ค่ะ
– Eh… infatti questa è la lezione 47 dove rivediamo l’imperativo, ma con i pronomi!
เอิม… นี่ไงคะ บทเรียนนี้คือบทเรียนที่ 47 ที่ๆ พวกเราจะมาเรียนเกี่ยวกับเรื่อง l’imperativo กันค่ะ แต่ว่าตอนที่มันใช้กับคำสรรพนามต่างๆ ค่ะ!
– Infatti adesso, nel mio dialogo io ho utilizzato, usato l’imperativo con i pronomi in molte situazioni.
นี่ไงคะ ตอนนี้ ในบทสนทนาของฉัน ฉันได้ใช้ l’imperativo กับคำสรรพนามต่างๆ ในหลายๆ สถานการณ์ค่ะ
– Va bene.
โอเคค่ะ
– Eh… allora, li vediamo un po’.
เอิม… เอาหล่ะค่ะ พวกเรามาดูมันกันสักนิดค่ะ
– Per esempio all’inizio vi ho detto “raccontatemi qualcosa!”
ตัวอย่างเช่น ตอนแรกฉันได้บอกกับพวกเธอว่า “พวกเธอจงเล่าอะไรสักอย่างให้ฉันฟังหน่อยค่ะ!”
– Allora qui, oltre alla lezione 17, che dovete comunque rivedere, eh… rivedete anche la lezione 28.
เอาหล่ะค่ะ ตรงนี้ นอกเหนือจากบทเรียนที่ 17 ที่พวกเธอต้องกลับไปดูซ้ำ เอิม… พวกเธอต้องกลับไปดูบทเรียนที่ 28 ซ้ำด้วยนะคะ
– Perché? Bravi!
ทำไมเหรอคะ เก่งมากค่ะ!
– Raccontate a chi?
พวกเธอเล่าให้ใครฟังเหรอคะ
– A me qualcosa.
เล่าให้ฉันฟัง อะไรบางอย่าง
– Quindi l’imperativo in questo caso con il pronome indiretto. Ok?
ดังนั้น l’imperativo ในกรณีนี้ ใช้กับคำสรรพนามแบบอ้อมค่ะ โอเคไหมคะ
– Quindi quando abbiamo l’imperativo, bravi avete già capito la regola,
ดังนั้น เมื่อไหร่ที่พวกเรามี l’imperativo เก่งมากค่ะ พวกเธอเข้าใจกฎกันแล้ว
eh… insieme ad un pronome, il pronome va alla fine, attaccato al verbo.
เอิม… ถ้าอยู่ร่วมกับคำสรรพนาม คำสรรพนามนั้นจะย้ายไปอยู่ตอนท้าย ติดกันกับคำกริยาค่ะ
– Quindi raccontate a me qualcosa.
ดังนั้น พวกเธอเล่าให้ฉันฟัง เกี่ยวกับอะไรบางอย่างค่ะ
– Poi vi ho parlato dei miei video, rivedeteli!
แล้วฉันก็ได้พูดกับพวกเธอเกี่ยวกับพวกวิดีโอของฉันด้วย พวกเธอกลับไปดูมันซ้ำกันนะคะ!
– Rivedete che cosa?
พวกเธอกลับไปดูอะไรซ้ำกันคะ
– I miei video!
กลับไปดูพวกวิดีโอต่างๆ ของฉันค่ะ!
– Pronome diretto, rivedete la lezione 26.
คำสรรพนามโดยตรง พวกเธอกลับไปดูบทเรียนที่ 26 ซ้ำกันนะคะ
– Em… poi vi ho detto ah pensateci!
อืม… แล้วฉันก็ได้บอกกับพวกเธอว่า อ้า พวกเธอจงคิดกันนะคะ!
– A questo, questo è più recente.
ไปที่สิ่งนี้ เรื่องนี้มันเป็นเรื่องล่าสุด ไม่นานมานี้ค่ะ
– Ho spiegato il pronome ci in questo caso em… nella lezione 45, quindi da poco. Ok?
ฉันได้อธิบายเรื่องคำสรรพนาม ci ในกรณีนี้ อืม… ในบทเรียนที่ 45 ดังนั้น เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้เองค่ะ โอเคนะคะ
– Perchè pensate a qualcosa
เพราะว่า พวกเธอคิดถึงไปที่อะไรบางอย่าง มีคำบุพบท a ด้วย
– Questo ci vuol dire a qualcosa.
คำว่า ci นี้ มันต้องการบอกถึง ไปที่อะไรบางอย่างค่ะ
– Poi ho detto “mi raccomando in aeroporto andateci almeno due ore prima!”
แล้วฉันก็ได้บอกว่า “ฉันขอแนะนำว่า ที่สนามบิน พวกเธอจงไปก่อนเวลาอย่างน้อยสองชั่วโมงนะคะ!”
– Questo ci invece si riferisce a un luogo e dico questo sempre nella lezione 45.
ส่วนคำว่า ci นี้ ใช้อ้างถึงสถานที่ และฉันก็พูดแบบนี้เสมอในบทเรียนที่ 45 ค่ะ
– Quindi oggi andate a rivedere tutte queste lezioni per poter imparare l’imperativo con i pronomi.
ดังนั้นวันนี้ พวกเธอจงไปดูทุกบทเรียนนี้ซ้ำกันนะคะ เพื่อที่จะสามารถเรียนรู้การใช้ l’imperativo กับพวกคำสรรพนามต่างๆ นี้ได้ค่ะ
– Bene, poi vi ho detto… ah sì, lo so, lo so, io vi ho detto… Veronica perché ci hai detto prima “non preoccupatevi!” E poi “non vi preoccupate!”?
ดีค่ะ แล้วฉันก็ได้บอกว่า… อ้า ใช่ค่ะ ฉันรู้ค่ะ ฉันรู้ค่ะ ฉันได้บอกกับพวกเธอว่า… เวโรนิกา ทำไมตอนแรกเธอบอกว่า “พวกเธอไม่ต้องกังวลกันไปนะคะ!” (คำว่า vi อยู่ตอนท้ายติดกับคำกริยา แล้วก็ “พวกเธอไม่ต้องกังวลกันไปนะคะ!” (คำว่า vi อยู่ข้างหน้า อยู่ห่างจากคำกริยา) หล่ะคะ
– Perché qua hai cambiato la regola?
ทำไมตรงนี้เธอถึงเปลี่ยนกฎการใช้หล่ะคะ
– Non ho cambiato la regola, ma qua abbiamo l’imperativo negativo.
ฉันไม่ได้เปลี่ยนกฎนะคะ แต่ว่าตรงนี้พวกเรามีคำสั่งแบบห้ามไม่ให้ทำค่ะ
– Con i pronomi, quando abbiamo l’imperativo negativo, possiamo mettere o il pronome o alla fine, attaccato al verbo,
กับพวกคำสรรพนาม เมื่อไหร่ที่พวกเรามีคำสั่งแบบห้ามไม่ให้ทำ พวกเราสามารถใส่คำสรรพนามไว้หลังคำกริยา แบบติดกับคำกริยา
oppure dopo la negazione staccato dal verbo, ma prima del verbo.
หรือวางคำสรรพนามไว้หน้าคำกริยา แบบไม่ติดกับคำกริยา ก็ได้ค่ะ
– Quindi come vedete non preoccupatevi, non vi preoccupate. Ok?
ดังนั้น ก็อย่างที่พวกเธอเห็นค่ะ พวกเธอไม่ต้องกังวลกันไปนะคะ! (คำว่า vi อยู่ตอนท้ายติดกับคำกริยา และ พวกเธอไม่ต้องกังวลกันไปนะคะ! (คำว่า vi อยู่ข้างหน้า อยู่ห่างจากคำกริยา) ค่ะ
– Quindi se lo mettete alla fine deve stare attaccato al’imperativo, al verbo.
ดังนั้น ถ้าพวกเธอใส่มันไว้ตอนท้าย มันต้องอยู่ติดกับคำกริยาค่ะ
– Se lo mettete prima del verbo però deve’ssere tra la negazione e il verbo.
ถ้าพวกเธอใส่มันไว้หน้าคำกริยา แต่ว่ามันต้องอยู่ระหว่างคำว่า non และคำกริยาค่ะ
– E quindi dato che abbiamo questa frase andate a rivedere anche i verbi riflessivi, em… nella lezione 24, perché peroccuparsi è un verbo riflessivo.
ก็เนื่องจากเราเรียนประโยคนี้ พวกเธอก็กลับไปดูเรื่องคำกริยาแบบสะท้อนกลับกันด้วยนะคะ อืม… ในบทเรียนที่ 24 ค่ะ เพราะคำว่า peroccuparsi การทำตัวเองให้เป็นกังวล มันคือคำกริยารูปแบบสะท้อนกลับ คือทำให้ตัวเองค่ะ
– Em… poi ho parlato di shopping.
อืม… แล้วฉันก็พูดเกี่ยวกับเรื่องการช๊อปปิ้งค่ะ
– E ho detto “non compro solo una cosa, ma dai, compriamone tante!”
และฉันก็พูดว่า “ฉันไม่ซื้อของแค่อย่างเดียวนะ แต่ก็เถอะนะ ซื้อไปเยอะๆ เลย!”
– Il pronome ne.
คำสรรพนาม ne ส่วนหนึ่งของจำนวนเต็ม
– Quindi vi ricordate?
ดังนั้น พวกเธอจำกันได้ไหมคะ
– Io spiego il pronome ne nella lezione 30.
ฉันได้อธิบายเรื่องคำสรรพนาม ne ในบทเรียนที่ 30 ค่ะ
– Bene, andate a rivedere tutte queste lezioni.
ดีค่ะ พวกเธอกลับไปดูทุกๆ บทเรียนนี้ซ้ำกันนะคะ
– E quindi vi ho insegnato a usare l’imperativo insieme ai pronomi.
และดังนั้น ฉันก็ได้สอนพวกเธอเกี่ยวกับการสั่งร่วมกับคำสรรพนามต่างๆ แล้วนะคะ
– A proposito, nella lezione 17, io ho spiegato l’imperativo dei verbi regolari.
จะว่าไปแล้ว ในบทเรียนที่ 17 ฉันได้อธิบายเรื่องคำสั่งกับคำกริยาที่ผันตามกฎแล้วค่ะ
– Adesso vediamo alcuni verbi irregolari all’imperativo diretto.
ตอนนี้พวกเรามาดูคำกริยาบางคำ ที่ผันไม่ตามกฎ ในรูปแบบการสั่งแบบตรงกันค่ะ
– Eh… e vediamo specialmente le forme monosillabiche,
ค่ะ… แล้วก็มาดูโดยเฉพาะรูปแบบคำที่มีพยางค์เดียวค่ะ
quindi alla seconda persona singolare che però in questo dialogo con voi non ho usato, perché io parlo con voi, non parlo con te.
ดังนั้น ในรูปบุคคลที่สอง เอกพจน์ แต่ว่าในบทสนทนานี้กับพวกเธอหลายคน ฉันไม่ได้พูดกับเธอคนเดียวค่ะ
– Qualcuno nei commenti ha scritto se è possibile parlare con una sola persona, perché magari mi guardate da soli.
บางคนในคอมเม้นต์ ได้เขียนมาว่า มันจะเป็นไปได้ไหม ที่จะพูดกับคนเพียงคนเดียว เพราะว่าบางครั้งพวกเธอก็นั่งดูฉันอยู่คนเดียว
– Ma siete così tanti, mi guardate in tanti e vi ringrazio tanto, che io preferisco ragazzi parlare con voi.
แต่ว่าพวกเธอมีกันหลายคน พวกเธอดูฉันกันเยอะมาก และฉันก็ขอขอบคุณพวกเธอเป็นอย่างมากค่ะ ฉันก็ชอบพูดคุยกับพวกเธอมากกว่า ผันคำกริยาในช่อง voi ค่ะ
– Bene, e quindi vediamo adesso questo esempio con la seconda persona singolare.
ดีค่ะ และดังนั้น ตอนนี้พวกเรามาดูตัวอย่างนี้กันค่ะ กับบุคคลที่สอง เอกพจน์ ผันคำกริยาในช่อง tu ค่ะ
– Allora per esempio i verbi andare, dare, dire, fare, stare.
เอาหล่ะค่ะ ตัวอย่างเช่น พวกคำกริยา การไป การให้ การพูดบอก การทำ การอยู่
– Allora ovviamente l’imperativo, ripetiamo, è facile perché lo usiamo solo con tre persone, tu, noi e voi.
เอาหล่ะค่ะ แน่นอนค่ะว่า การสั่ง พวกเรามาทวนซ้ำกันค่ะ มันง่ายมาก เพราะว่าพวกเราใช้กับสามคน คือ สั่งเธอคนเดียว สั่งพวกเราหลายคน และสั่งพวกเธอทั้งหลายค่ะ
– Bene, quindi abbiamo tu, nel caso di andare va’.
ดีค่ะ ดังนั้นพวกเราผันในช่อง tu ในกรณีของคำกริยา การไป ก็จะกลายเป็น เธอคนเดียวจงไป ค่ะ
– Dare da’, dire di’, fare fa’, stare sta’.
คำกริยา การให้ เธอคนเดียวจงให้ คำกริยา การบอก เธอคนเดียวจงบอก คำกริยา การทำ เธอคนเดียวจงทำ คำกริยาการอยู่ เธอคนเดียวจงอยู่ ค่ะ
– Per esempio sta’ attento.
ตัวอย่างเช่น เธอคนเดียวจงระวัง
– Fa’ il bravo! Ok.
เธอคนเดียวจงทำตัวดีๆ นะ! โอเค
– Di’ la verità! Ok.
เธอคนเดียวจงพูดความจริงมานะ! โอเค
– Da’ una mano a tua mamma! Ok.
เธอคนเดียวจงช่วยแม่เธอนะ! โอเค
– Va’ via!
เธอคนเดียวจงออกไปไกลๆ นะ!
– Benissimo.
เยี่ยมมากค่ะ
– Quindi la seconda persona ha queste forme monosillabiche.
ดังนั้น ผันคำกริยาในช่อง tu บุคคลที่สอง มันจะเป็นคำๆ เดียวแบบนี้ค่ะ
– Invece noi e voi come sempre, sono… em… uguali al presente indicativo.
ส่วนพวกเราทั้งหลาย และพวกเธอทั้งหลาย พวกมันคือ… อืม… พวกมันก็จะเหมือนตอนที่เราผันคำกริยาในช่วงเวลาปัจจุบัน presente ในรูปแบบ indicativo พูดรายงานความเป็นจริง ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นค่ะ
– Va bene? Abbiamo questa particolarità.
โอเคนะคะ พวกเรามีความเฉพาะนี้อยู่ค่ะ
– Io posso dire anche per esempio, vai al cinema!
ฉันจะพูดแบบนี้ก็ได้ค่ะ ตัวอย่างเช่น เธอคนเดียวจงไปที่โรงภาพยนต์!
– Dai una mano a tua madre!
เธอคนเดียวจงช่วยแม่ของเธอนะ!
– Em… in questo caso di’ la verità.
อืม… ในกรณีนี้ เธอคนเดียวจงพูดความจริงมานะ
– In questo caso va bene così.
ในกรณีนี้พูดแบบนี้ค่ะ
– Fa’ posso dire anche fai il bravo.
จากคำว่า fa ฉันก็ใช้คำว่า fai ได้ค่ะ เธอจงทำตัวให้ดีๆ ค่ะ
– Stai attento!
เธอคนเดียวจงระวังตัวนะ!
– Però abbiamo anche queste forme.
แต่ว่าพวกเรามีรูปแบบพวกนี้ด้วยค่ะ
– Quando… adesso vi spiego una cosa.
ตอนที่…. ตอนนี้ฉันจะอธิบายให้พวกเธอฟังอย่างนึงค่ะ
– Quando abbiamo il pronome insieme a queste forme monosillabiche, il pronome di solito raddoppia.
ตอนที่พวกเราใช้คำสรรพนามกับรูปแบบคำที่มีพยางค์เดียวพวกนี้ โดยปกติแล้ว เราจะเพิ่มตัวอักษรเป็นสองตัวค่ะ
– Per esempio…
ตัวอย่างเช่น…
– Vammi a comprare il giornale!
เธอจงไปซื้อหนังสือพิมพ์ให้ฉัน! มีตัว m สองตัว
– Non è vami, ma abbiamo doppia emme.
ห้ามเขียน m ตัวเดียวนะคะ ต้องมีตัว เอมเม่สองตัวค่ะ
– Datti da fare! (Doppia t).
เธอคนเดียวจงไปหาอะไรทำ! (ตัว t สองตัวค่ะ)
– Dicci (a noi) la verità.
เธอคนเดียวจงบอกความจริงกับ (พวกเราทั้งหลาย) มานะ
– Falle (a lei) un favore.
เธอคนเดียวจงให้ความช่วยเหลือกับเขาผู้หญิงคนเดียวค่ะ
– Stammi a sentire!
เธอคนเดียวจงฟังฉันนะคะ!
– Allora l’unico pronome che non… non ha… diciamo che unito alla forma monosillabica non ha la doppia, e per esempio, digli la verità!
เอาหล่ะค่ะ มีคำสรรพนามคำเดียวที่ไม่มี… ก็พูดได้ว่า ที่มันไม่ต้องเพิ่มตัวอักษร คือ เธอคนเดียวจงบอกความจริงกับเขาผู้ชายคนเดียวไปค่ะ!
– Di’ a lui, e il pronome è gli, che si può riferire a lui o a loro.
เธอคนเดียวจงบอกให้เขาผู้ชายคนเดียวฟัง และคำสรรพนามก็คือ gli ที่จะบอกว่า ไปที่เขาคนเดียว หรือว่า ไปที่พวกเขาหลายคนก็ได้ค่ะ
– Va bene?
ตามนี้นะคะ
– Questa è una cosa in più che abbiamo visto oggi.
สิ่งนี้ คือ สิ่งที่เพิ่มมา ที่พวกเราได้เรียนกันวันนี้ค่ะ
– Quindi ricordatevi queste doppie nel caso delle forme monosillabiche insieme al pronome.
ดังนั้น พวกเธอจงจำรูปแบบการเพิ่มตัวอักษร ในกรณีที่มีคำพยางค์เดียว รวมกับคำสรรพนามไว้นะคะ
– Benissimo.
เก่งมากที่สุดค่ะ
– Per oggi mi sa ragazzi che va bene così, abbiamo già imparato tanto.
เพื่อนๆ คะ สำหรับวันนี้ฉันคิดว่า มันน่าจะพอแค่นี้ค่ะ พวกเราได้เรียนกันไปเยอะแยะมากมายแล้วค่ะ
– Eh… mi raccomando, continuate a seguirmi, quindi seguitemi!
เอิม… ฉันขอแนะนำนะคะ พวกเธอจงติดตามฉันกันต่อไป ดังนั้น พวกเธอจงติดตามฉันกันนะคะ!
– Benissimo!
เยี่ยมมากค่ะ!
– Guardatemi e divertitevi su One world italiano video.
พวกเธอจงดูฉัน และพวกเธอจงสนุกสนานกับ One world italiano video กันนะคะ
– Ciao a tutti e alla prossima!!!
สวัสดีค่ะทุกคน และพบกันครั้งต่อไปค่ะ!!!
– Ciao!!!
บ๊ายบายค่ะ!!!
เราเรียนอยู่ในระดับ A2 แล้วนะคะ แสดงว่า เราต้องพูดได้ ฟังออกบ้างแล้วนะคะ เพราะฉะนั้น
1.ไปที่ยูทูป แล้วเขียนหัวข้อที่เรียนวันนี้ลงไป แล้วก็ไปฟังครูคนอื่นเขาสอนเรื่องนี้ด้วยอีกหลายๆ รอบค่ะ แล้วอย่าลืมเขียนทุกอย่างที่เราเรียนไปแล้วลงสมุดด้วยนะคะ
2.พูดตามเขาให้ทันทุกคำนะคะ ถ้ายังไม่ทันก็ดูวิดีโอซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะพูดตามได้ทันค่ะ
3.ถ้าเริ่มงง และรู้สึกว่าการเรียนเริ่มยากไปแล้ว ให้กลับไปเรียนซ้ำทุกอย่างที่เราเคยเรียนไปแล้วในวันก่อนๆ ค่ะ
จำสุภาษิตที่ว่า “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” ได้ไหมคะ เราไม่ควรรีบร้อนเรียนค่ะ เพราะว่าการเรียนแบบเร็วๆ มันจะทำให้เราจำได้ไม่หมด ตกหล่นหลายสิ่งหลายอย่าง แล้วก็จะทำให้เราหงุดหงิดและปวดหัวเปล่าๆ ค่ะ
ท้ายสุดนี้ ก็ไม่ลืมที่จะขอบคุณน้องมาย ที่ตั้งใจเรียน และตั้งใจแปลวิดีโอนี้มาให้พวกเราได้เรียนกันแบบสะดวกสบายมากขึ้นค่ะ ถ้าสนใจอยากรู้ว่าน้องมายเรียนอะไรไปบ้างแล้ว เชิญไปดูที่เพจของเธอได้เลยค่ะ
เรียนภาษาอิตาเลียนด้วยตัวเอง (สมุดส่งการบ้าน)
เพิ่มเติม
ชีวิตหญิงไทยในต่างแดน เฟสบุ๊คเพจ
โปรดลงทะเบียนเพื่อรับThai Women Living Abroad ข่าวสารใหม่อย่างต่อ