มีคำถามมากมายจากผู้ติดตามเพจและบล็อก เกี่ยวกับกับเรื่องการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ผมจึงได้เชิญคุณ Aoy มาช่วยเขียนบทความและช่วยตอบคำถามเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทุกท่านครับ ผมขอเรียกบทความพิเศษเหล่านี้ว่า “คุณอ้อยตอบคำถาม”
บทความ
นักเขียนรับเชิญคนพิเศษ – คุณ Aoy Rattiya
ย้ายมาอยู่ประเทศจีน (China)
สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจจดทะเบียนกับขาวต่างชาติ
สาวๆส่วนมากจะให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการจัดงานแต่งงานมากกว่า กฏหทายของการจดทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย ขั้นตอนอาจจะไม่ซับซ้อนเหมือนต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามเราควรทราบรายละเอียดและข้อกำหนด เพื่อทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฏหมาย เพราะลืมว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ในอนาคต
อย่างน้อยก็เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับตัวเอง ถ้าหากมีอะไรเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหย่าร้าง, เรื่องการเสียชีวิต กฏหมายแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเราควรศึกษาหาข้อมูล
อ้อยได้นำข้อมูลเบื้องต้น มาให้ได้รับทราบดังนี้ค่ะ
จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย
******************************
การจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับชาวต่างชาติจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าเลือกจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของไทยหรือกฎหมายต่างชาติกันแน่ โดยการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยก็มีรายละเอียดดังนี้
💖 คู่รักที่เป็นชาวต่างชาติ จะต้องไปขอใบรับรองความเป็นโสดก่อน โดยขอได้จากสถานทูตชาติของตน
💖 นำใบรับรองที่ขอมา ไปแปลเป็นภาษาไทยให้เรียบร้อย แล้วจึงนำมายื่นที่กองสัญชาติและนิติกร ทั้งที่เป็นฉบับจริงและฉบับแปลภาษา
💖 นำเอาหนังสือเดินทางและเอกสารทั้งหมด ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอ พร้อมกับคู่สมรส
จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่างชาติ
**********************************
การจดทะเบียนสมรส ภายใต้กฎหมายของชาวต่างชาติก็สามารถทำได้เหมือนกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
💖 ไปติดต่อกับสถานทูตของไทย เพื่อขอเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ
💖 นำเอกสารที่ได้มา ซึ่งจะเป็นภาษาไทย ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เรียบร้อย แล้วนำมายื่นที่กองสัญชาติและนิติกร ทั้งฉบับจริงและฉบับแปล
💖 นำเอาบัตรประชาชนพร้อมเอกสารทั้งหมด ไปรับรองกับสถานทูตชาติที่อยู่ในไทย
คุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นต้องมีกันบ้าง ได้แก่
1. คู่รักที่จะแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกันได้ จะต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ
2. คู่สมรสจะต้องมีสถานภาพเป็นโสดทั้งคู่ ดังจะเห็นได้ว่า ต้องมีการขอใบรับรองความเป็นโสดก่อนจดทะเบียนสมรสเสมอ
3. ห้ามเป็นญาติที่สืบสายโลหิตโดยตรงกันเด็ดขาด และต้องไม่เป็นบุตรบุญธรรมกันอีกด้วย
4. ผู้หญิงที่พึ่งหย่าร้างหรือสามีเสียชีวิตลง ต้องรอให้พ้น 310 วันไปแล้ว จึงจะสามารถจดทะเบียนสมรสใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนสมรสกับคนไทยด้วยกันหรือกับชาวต่างชาติก็ตาม
ฝากไว้ให้อ่านสักนิดก่อนตัดสินใจแต่งงาน
************************************
1. วางแผนให้ดีก่อนแต่งงาน และจดทะเบียนสมรส เพราะว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นมีขั้นตอนหลายขั้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การลงนามในเอกสารเท่านั้น แต่ว่าชาวต่างชาติจะต้องขออนุญาตจากกรมการกงศุลเสียก่อนถึงจะแต่งงานกับคนไทยได้ การดำเนินการนั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการแปลเอกสาร หรือการขอเอกสารต่างๆ รวมถึงขั้นตอนในการจดทะเบียนสมรสก็มีค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน ถ้าหากคุณมีแผนการจะแต่งงานกับคู่รักชาวต่างชาติจึงควรเตรียมเงินในส่วนนี้ไว้เสียแต่เนิ่นๆ
2. เรื่องทรัพย์สินของอีกฝ่าย มีลักษณะเดียวกันกับกฎหมายไทยนั่นคือทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายหามาได้ก่อนจดทะเบียน ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัวหากมีการหย่าร้างในภายหลัง ทรัพย์สินส่วนนี้จะยังเป็นทรัพย์สินของแต่ละฝ่าย แต่ถ้าหากเป็นทรัพย์สินที่หามาได้หลังจากการแต่งงาน ถือเป็นสินสมรส ซึ่งหากว่าเกิดการหย่าร้างในภายหลัง ทรัพย์สินส่วนนี้จะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน
3. ถ้าหากว่าคุณแต่งงานกัน แต่ว่าไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส หากมีการแยกทางในภายหลัง ต่างฝ่ายต่างไม่มีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินของอีกฝ่ายได้เลย ลักษณะดังกล่าวได้รับการบัญญัติไว้ในกฎหมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ใช้วิธีการเดียวกัน เพราะการแต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น กฎหมายไม่ได้ให้การรับรองใดๆ จึงไม่สามารถเรียกร้องสิทธิได้ในภายหลัง
4. เมื่อมีบุตรนั้น จะต้องมีการแจ้งเกิด โดยระบุชื่อผู้เป็นบิดามารดาให้ชัดเจน ในกรณีที่คุณไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีลูกก็สามารถแจ้งรับรองบุตรได้ โดยหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต มรดกจะตกเป็นของบุตรก่อนเสมอ ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ระบุชื่อบิดามารดาในสูติบัตรก็เช่นเดียวกัน ทางที่ดีควรจดทะเบียนสมรสดีกว่า เพราะหากคนรักของคุณไปจดทะเบียนกับคนอื่น ลูกของคุณจะกลายเป็นบุตรนอกสมรสทันที ซึ่งจะทำให้เสียสิทธิที่ควรได้รับตามกฎหมาย
5. การจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้น กฎหมายให้สิทธิคุ้มครองผู้ที่จดทะเบียนสมรสก่อน ซึ่งถ้าหากว่ามีการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีใดๆก็ตาม ผู้ที่จะสามารถเรียกร้องได้คือฝ่ายที่จดทะเบียนสมรสในครั้งแรกส่วนการจดทะเบียนสมรสในครั้งที่สองที่เป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นถือเป็นโมฆะ โดยการจดทะเบียนสมรสซ้อนคือการจดทะเบียนสมรส และไม่ได้จดทะเบียนหย่าในภายหลัง แล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น
6. หลายคนจะเข้าใจว่ามรดกนั้นมีเพียงชนิดเดียวนั่น คือ ทรัพย์สิน ที่สามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้ แต่ถ้าหากว่าคุณได้จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติแล้ว อีกฝ่ายเสียชีวตลง คุณจะได้รับทั้งมรดกทรัพย์สิน และมรดกหนี้สิน โดยไม่ต้องรับผิดในหนี้เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตัวเองได้รับ
7. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านเอกสาร เพื่อจดทะเบียนสมรสหรือหย่าร้างนั้นเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงกันเองว่าฝ่ายใดออกเงินเท่าไหร่ โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดออกมาว่าจะต้องให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่ขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายนั่นเองว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ
การ แต่งงานกับชาวต่างชาติ จะต้องทำความเข้าใจกับหลายๆ เรื่องให้ชัดเจน เพื่อมิให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะเมื่อคุณทั้งคู่ต่างก็แยกย้ายกันไป ดังนั้นมาทำให้ถูกต้องและทำความเข้าใจให้เด่นชัด เพื่ออนาคตที่ดีกันดีกว่า ใครที่กำลังจะแต่งงานกับชาวต่างชาติ ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกับเรื่องควรรู้เหล่านี้

บทความจากคำถาม: เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างประเทศ – คุณ Aoy Rattiya
เพิ่มเติม
ข่าวสารฟรี : คำแนะนำในการออกเดทและความสัมพันธ์ – โปรดลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารใหม่อย่างต่อเนื่อง จดหมายข่าวสารฟรีรายสัปดาห์เต็มไปด้วยเคล็ดลับบทความและคำแนะนำในการออกเดทและความสัมพันธ สิ่งที่คุณจะได้รับภายใน…… เคล็ดลับการหาคู่ออนไลน์,คำแนะนำในการออกเดทและความสัมพันธ์,เคล็ดลับในการค้นหาเนื้อคู่ของคุณ…
เจอกับชาวต่างชาติ
ข่าวสารฟรีภาษาอังกฤษ – ลงทะเบียนทดลองภาษาอังกฤษข่าวสารฟรี เนื้อหาเกี่ยวกับเสียง (การออกเสียง) ประโยคสำหรับการใช้ทันที คำศัพท์ ไวยากรณ์ที่มีประโยชน์ และเนื้อหาอื่นๆที่เป็นประโยชน์ จดหมายข่าวจะส่งมาเป็นรายปักษ์นะครับ
ชีวิตหญิงไทยในต่างแดน เฟสบุ๊คเพจ
โปรดลงทะเบียนเพื่อรับThai Women Living Abroad ข่าวสารใหม่อย่างต่อเนื่อง
One thought on “สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจจดทะเบียนกับขาวต่างชาติ”